25 มิถุนายน 2564

หมอยอมรับ รพ.จุฬาฯ วิกฤต งดตรวจโควิด 4 วัน กว่าคนไข้จะได้เตียง อาการหนักไปแล้ว

       โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ งดรับตรวจโควิด 24-27 มิถุนายน หลังเตียงเต็มไม่สามารถรับผู้ป่วยใหม่ได้ หมอธีระวัฒน์ เผยโรงพยาบาลอีกหลายแห่งก็เป็นเหมือนกัน ชี้ฉีดวัคซีนแล้วก็ติด และแพร่เชื้อได้ แค่อาการป่วยน้อยลง


วันที่ 24 มิถุนายน 2564  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความระบุถึง สถานการณ์การรักษาผู้ป่วยโควิดที่โรงพยาบาลจุฬา ว่า ระบบคัดกรองโควิด-19 ที่จุฬาปิด 4 วันตั้งแต่วันที่ 24-27 มิถุนายน 2564 เนื่องจากไม่มีเตียงรับ และยังมีโรงพยาบาลอีกหลายที่ ๆ ปิดรับตรวจเช่นกัน เนื่องเตียงจำนวนเตียงไม่เพียงพอ ตอนนี้จึงเกิดกรณี คนไข้ที่มีอาการอาการหนักและอาการปอดบวม เพิ่งมารักษาที่โรงพยาบาล เพราะตระเวนหาหลายที่แล้วไม่รับ กว่าจะได้รับอาการก็หนักไปแล้ว  แต่การมาโรงพยาบาล ก็ไม่ได้การันตีเตียงเสมอไป


สถานการณ์ล่าสุดคือ


1. ศ.นพ.ธีระวัฒน์ แนะนำว่า โรงพยาบาลสนามที่รักษาผู้ป่วยวิกฤต (สีแดง) สมควรที่จะเปิดได้แล้ว เพื่อรักษาคนไข้อาการหนักและสอดท่อช่วยหายใจ แต่มีปัญหาคือเรื่องบุคลากรที่ขาดแคลน แต่ละจังหวัดให้เตรียมตัวไว้ เพราะปัญหาอาจจะเหมือนกัน


2. การคัดกรองแบบเชิงรับ และเชิงรุกในบางจุด พิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถป้องกันโรคระบาดได้


3. วัคซีนที่ไทยมีอยู่ในขณะนี้ ทำให้เห็นชัดแล้วว่า คนสามารถติดโรคได้แม้ฉีดวัคซีนไปแล้ว ซึ่งคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ติดแล้ว ยังแพร่เชื้อต่อได้ในปริมาณไวรัสที่มีมาก แต่อาการโควิด เมื่อติดแล้วจะน้อยลงบ้าง


4. ทุกคนในโรงพยาบาลมีสิทธิ์ติดเชื้อได้หมด แม้ดูปกติ


5.  สถานการณ์โควิด ในเชิงตั้งรับมาตลอดเช่นนี้มาหนึ่งปีครึ่ง เหมือนกับหลายประเทศที่ผ่านมา มนุษย์ไม่เคยเรียนจากความผิดพลาด ต้องการแต่คำสรรเสริญความสำเร็จ


ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก :  kapook,เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สถานะยืนยันตัวตน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขึ้นข้อความแบบไหน ได้สิทธิชัวร์

      ตรวจสอบสถานะ ยืนยันตัวตนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเว็บไซต์ด้วยตนเอง หากได้รับข้อความแบบไหนถึงจะรูผลว่าผ่านและรอรับเงินเข้าบัตรประจำตัวป...